วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความรักคือ?

บางคนนิยามความรักได้อย่างน่ารักแต่เป็นความจริง คือ "ความรักเหมือน หวย มีสิทธิแทงไม่ถูกมากกว่าแทงถูก " หรือหากเป็นวัยรุ่นสมัยนี้ อาจนิยามความรักว่า "ความรักก็คือ การทดลองอยู่ด้วยกัน หากเข้าใจกันไม่ได้ ก็หาใหม่ได้ สรุปสั้นๆคือ ความรักคือการทดลอง" หรือแม้แต่บางคนอาจนิยามความรักว่า "ความรักคือเซ็กส์" แม้แต่ในทางพุทธศาสนายังกล่าวถึงความรักว่า "ที่ไหนมีความรัก ย่อมเกิดความทุกข์"
ความรัก มีนิยามร้อยแปดพันเก้า เรามาวิเคราะห์ ในเรื่องของความรักกันอย่างถ่องแท้ดีกว่า
ไม่จำเป็นที่จะต้องมีบุคคลที่ 2 หรือ 3 หมายถึงคนเราสามารถก่อให้ เกิดความรักได้โดยลำพัง เช่น การรักตัวเอง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะลืม อยู่เสมอ ไปรักคนอื่นมากกว่ารักตัวเอง ทำให้เกิดปัญหาการฆ่าตัวตาย อย่างมากมายในสังคมปัจจุบัน
แน่นอน ความรัก คือความคิดถึง ความเป็นห่วง เป็นความรู้สึกที่สรรค์ สร้างโลกนี้ให้น่าอยู่มาก การที่คนเรามีคนคิดถึง หรือเป็นห่วง ย่อมทำให้ ตนมีความเชื่อมั่นในตัวเองว่าอย่างน้อยยังมีค่าต่อใครบางคน
เมื่อมีความรักเกิดขึ้น จะมองเห็นโลกนี้เป็นสีชมพู ดูสวยงาม แต่ควร ตั้งสติซักนิดว่าความรักสามารถจะจากเราไปได้เสมอ ตลอดเวลา และมัน คือสัจธรรมของชีวิต โอเคละ คงต้องเสียใจกันทุกคน แต่ต้องคำนึงว่านั้น มันไม่ใช่วันสิ้นโลก หรือขนาดที่ต้องเขียนกลอนออกมาว่า "ดอกรักบาน ในใจใครทั้งโลก แต่ดอกโศกบานในหัวใจฉัน"
ความรัก เป็นเรื่องของอารมณ์มากกว่าเหตุผล ข้อนี้หลายคนคงเถียง แต่เชื่อเถอะ คนบางคนรักใครขึ้นมา ถามว่ารักเขาเพราะอะไร กลับต้อง ใช้เวลาคิดนานมาก คนบางคนที่ดีเพียบพร้อมทุกอย่าง เรากลับไม่รัก ไปรักอีกคนที่หากใช้เหตุผลนานาประการแล้วคงไม่เลือก หรืออย่างผัวเมีย ที่ตีกันอยู่ทุกวัน แต่ไม่เห็นเขาจะหย่ากัน เพราะถามเขาว่ารักกันไหม ต่างก็ตอบว่ารัก แต่ผัวเมียบางคู่ทะเลาะกันดูเหมือนไม่รุนแรง กลับหย่า กันเสียได้ แถมหลังจากนั้นกลับเป็นศัตรูคู่อาฆาต ชนิดที่ว่าตายไปก็ไม่เผา ผีกันเลยทีเดียว
ความรัก นี้มันประหลาด ลึกลับ และมีพลัง พลังของความรักนี้สามารถ ทำได้ทุกอย่าง อย่างกรณีทัชมาฮาล ที่อินเดียก็เป็นอนุสรณ์แห่งความรัก หรืออย่างการล้มสลายของราชวงศ์ต่างๆของจีน สืบเนื่องมาจากความรัก ทั้งนั้น ความรักเหมือนเป็นพลังแห่งการสร้างในทางกลับกันเป็นพลังแห่ง การทำลายที่รุนแรง
ความรัก ไม่จำกัดในเรื่องเวลาหรือสถานที่ ประเภทที่ว่ารักกัน 10 ปียัง ไม่แต่งงาน หรือบางคนรักกันเพียงเดือนสองเดือน กลับตกลงจะ แต่งงานกันแล้ว แถมระยะเวลาของความรักก็ไม่ใช่เรื่องที่จะยืนยันว่า ความรักจะยั้งยืนกว่าคนที่รักกันไม่นานแล้วแต่งงานกัน ส่วนเรื่องสถานที่ บทจะปิ๊งใครซักคน เดินผ่านหน้าห้องน้ำยังปิ๊งได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ใน สถานที่โรแมนติกเลย
ความรัก เป็นสิ่งน่าดึงดูด รู้ทั้งรู้ว่ามีโอกาสที่จะทำให้ตัวเองผิดหวัง แต่ก็ยังรักอยู่นั้นแหละ บางคนอกหักแล้วอกหักอีก ก็ยังแสวงหาความรัก ต่อไป หรือจะถือคติอย่างเพลงของพี่สายันต์ สัญญา ที่ว่า "อกหักเพียง (สิบ)ครั้ง ยังไม่ตาย"

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประชากรศาสตร์

ประชากรศาสตร์

ความหมาย
      
ประชากรศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษาเกี่ยวกับประชากรและการเปลี่ยนแปลงของประชากร ทำให้ทราบขนาดหรือจำนวนคนที่มีอยู่ในแต่ละสังคม แต่ละภูมิภาค และระดับโลก รวมทั้งศึกษาการกระจายตัวในด้านพื้นที่ของประชากร และองค์ประกอบทางประชากร
      
ประชากร หมายถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง มีการเพิ่มหรือลด ได้โดยการเกิด การตาย และการย้ายถิ่น ทั้งย้ายถิ่นชั่วคราวและย้ายถิ่นถาวร
      
องค์ประกอบทางประชากร หมายถึง ลักษณะต่าง ๆ ทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา เศรษฐกิจ สามารถบ่งบอกแนวโน้มของจำนวนประชากรในอนาคต
ความสำคัญของการศึกษาประชากร
      1.
ทำให้สามารถคำนวณคาดการณ์ถึงจำนวนประชากรในอนาคตอย่างคร่าว ๆ
      2.
สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการวางแผนด้านต่างๆทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เช่น การจัดเก็บภาษี การแบ่งเขตเลือกตั้ง การจัดการสาธารณูปโภค การศึกษา การจัดสวัสดิการสังคม การกระจายผลผลิตด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นต้น
ภาวะการตาย
      
การตายเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ปรารถนาจะพบ แต่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในอดีตมนุษย์ส่วนใหญ่จะมีอายุไม่ยืน เนื่องจากภัยธรรมชาติ โรคระบาด ความอดอยาก สุขภาพอ่อนแอ จนมาถึงช่วง 300 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มปรับปรุงเทคนิคด้านการเกษตรทำให้มีผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น ความอดอยากน้อยลง และในช่วง 200 ปีที่ผ่านมามีการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์เริ่มใส่ใจเรื่องความสะอาดสุขภาพร่างกายของตนเองและสภาพแวดล้อมมากขึ้น มนุษย์จึงแข็งแรง อายุยืนยาวขึ้น และมีอัตราตายน้อยลง ทั้งนี้ในช่วง 100 ปีที่แล้วเป็นต้นมา ได้เริ่มมีการทดลองยารักษาโรคซึ่งสามารถควบคุมโรคร้ายได้ ทำให้มนุษย์มีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นไปจากเดิมและมีการตายที่น้อยลง
      
การตายทารก เกิดจากสุขภาวะของมารดาและทารกที่ยังไม่ดีเพียงพอ ทำให้ทารกเกิดมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต เมื่อพ้นจากช่วงทารกเกิดไปแล้ว การตายมักจะมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ และการเกิดโรค
      
รูปแบบการตาย สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอัตราการตายในช่วงแรก ๆ ของชีวิตมนุษย์น้อยกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอัตราการตายมากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบอัตราการตายของประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา

ภาวะการเกิด
      
การเกิด เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ แต่เนื่องจากมนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคม จึงได้สร้างกฎเกณฑ์ขึ้นเพื่อควบคุมพฤติกรรมให้ปฏิบัติในรูปแบบเดียวกัน ดังนั้นการเกิดจึงมักไม่ได้เกิดขึ้นโดยเสรี แต่ถูกแทรกแซงโดยสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งเศรษฐกิจ ที่มีความแตกต่างกัน จึงมีผลกระทบต่อการสมรส การตั้งครรภ์ การทำแท้ง และการให้กำเนิดบุตร
      
อายุแรกสมรส เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นจึงมีการสมรสก่อนให้กำเนิดบุตร ในปัจจุบันพบว่าเพศหญิงจะมีอายุแรกสมรสมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงภาวะที่มีบุตรยาก หรือไม่สามารถมีบุตรได้
      
จำนวนบุตร ประชากรในปัจจุบันเริ่มมีความนิยมที่จะมีบุตรเพียงแค่ 1 หรือ 2 คน ซึ่งไม่สามารถทดแทนพ่อและแม่ในอนาคตได้ ประกอบกับคู่สมรสบางคู่ไม่ต้องการมีบุตร จำนวนประชากรจึงไม่เพิ่ม ทำให้ประชากรมีแนวโน้มลดจำนวนลง การย้ายถิ่น
      
การย้ายถิ่นเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นและลดลงได้ แบ่งเป็น 5 ลักษณะได้แก่
      1.
การย้ายถิ่นแบบดั้งเดิม เพื่อการแสวงหาอาหาร ในปัจจุบันคือย้ายจากชนบทสู่เมืองเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าเดิม
      2.
การย้ายถิ่นโดยถูกบังคับ เช่น พวกนิโกรอาฟริกาถูกบังคับให้เข้ามาสู่ยุโรปและอเมริกา เป็นต้น
      3.
การย้ายถิ่นที่จำต้องไป เช่น การลี้ภัยทางการเมือง ศาสนา เป็นต้น
      4.
การย้ายถิ่นโดยเสรี ผู้ย้ายถิ่นตัดสินใจไปเอง เกิดขึ้นเฉพาะบุคลหรือครอบครัวเท่านั้น
      5.
การย้ายถิ่นแบบมวลชน คือ การย้ายถิ่นแบบเสรี แต่เป็นการย้ายถิ่นของคนจำนวนมาก เช่นแรงงานย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น
      
การย้ายถิ่นภายในประเทศ ผู้ย้ายถิ่นสามารถย้ายถิ่นได้ตามสิทธิของประชากร แบ่งได้ 4 ทิศทาง
      1.
ชนบท เข้าสู่เมือง
      2.
เมือง เข้าสู่ชนบท
      3.
เมือง เข้าสู่เมือง
      4.
ชนบท เข้าสู่ชนบท
      
การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ ทั้งนี้สหประชาชาติได้จำแนกผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศออกเป็น 4 ประเภท
      1.
ผู้ย้ายถิ่นที่ถูกต้องตามกฎหมาย
      2.
ผู้ย้ายถิ่นที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
      3.
ผู้แสวงหาความคุ้มครองหรือผู้ลี้ภัย
      4.
ผู้ย้ายถิ่นของแรงงานตามสัญญาจ้างระหว่างประเทศ
ลักษณะประชากรไทย
      
ปัจจุบัน (ปี 2553) ประเทศไทยมีประชากร ประมาณ 65 ล้านคน มีโครงสร้างทางประชากรดังนี้
      1.
ประชากรวัยเด็ก (แรกเกิดจนถึงอายุ 14 ปี) มีสัดส่วน 2 ใน 10 ของประชากรไทยทั้งหมด
      2.
ประชากรวันแรงงาน (อายุ 15 ถึง 59 ปี) มีสัดส่วน 7 ใน 10 ของประชากรไทยทั้งหมด
      3.
ประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วน 1 ใน 10 ของประชากรไทยทั้งหมด
แผนภาพที่ 1 สัดส่วนประชากรตามกลุ่มอายุ
      อัตราเกิดของประชากรไทยในปี 2551 เท่ากับ 14/1000 หรือประมาณ 910,000 คน สำหรับอัตราตายของประชากรไทยในปี 2551 เท่ากับ 7/1000 หรือประมาณ 455,000 คน สัดส่วนเพศ เมื่อแรกเกิดผู้ชายจะเกิดมากกว่าผู้หญิง เล็กน้อย แต่ในวัยสูงอายุ จะมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอัตราตายทารกประมาณ 18/1000 ของทารกที่เกิดภายในปีนั้น หรือประมาณ 16,500 คน
      
ประชากรไทยมีอายุคาดหมายโดยเฉลี่ย 72 ปี 6 เดือน ทั้งนี้ผู้ชายมีอายุคาดหมายเฉลี่ยน้อยกว่าผู้หญิง คือ 70 ปี 3 เดือน ในขณะที่ผู้หญิงมีอายุคาดหมายโดยเฉลี่ย 75 ปี